20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่ 1

Share |

 
ดังนั้นก่อนที่เราจะสร้างบ้านในฝันของเราซักหลัง เราก็ควรจะเข้าใจความต้องการของตัวเอง รวมถึงสิ่งที่จำเป็นต่างๆ ที่จะทำให้บ้านของเราเป็นเหมือนที่พักกายและที่พักใจ ในยามที่เราพักจากความเหน็ดเหนื่อยของการงานประจำอย่างแท้จริง
วันนี้เราจึงขอเสนอข้อคิดที่ คนอยากมีบ้านทุกคนควรรู้ไว้ เพื่อให้บ้านของเราออกมาเหมือนที่ฝันไว้ มากที่สุดและตอบโจทย์ทุกเรื่องและทุกคนในบ้านได้อย่างครบถ้วนครับ โดยจะสรุปออกมาแบบคร่าวๆ 20 ข้อด้วยกัน ตามมาดูกันครับ
1. สถานที่ตั้งบ้าน ความสำคัญของสถานที่ตั้งบ้านนั้นเป็นความสำคัณอันดับแรกที่เราต้องคิดก่อนจะสร้างบ้าน เนื่องจากเราจำเป็นต้องคิดถึงการเดินทางระหว่าง บ้านไปยัง ที่ทำงาน,โรงเรียน ,ตลาด,ศุนย์การค้า,สถานีรถไฟฟ้า,ราคาที่ดิน  เป็นต้น ในสมัยก่อนทำเลที่ดีคือทำเลที่ต้องอยู่กลางเมืองเนื่องจากระบบรถสาธารณะยังไม่ครอบคลุมเหมือนอย่างปัจจุบัน ทำให้ผู้คนต่างก็ไปกระจุกกันอยู่ในเมืองเพียงอย่างเดียว ผิดกับปัจจุบันที่ทำเลที่ดีคือทำเลที่อยู่ไกล้รถไฟฟ้า, ก่อนที่เราจะคิดถึงการสร้างบ้านเราจึงควรมองหาบริเวณที่เราสามาถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้ได้อย่างสะดวกที่สุด รวมถึงความปลอดภันของย่านที่อยู่ที่ต้องไม่ดูเปลี่ยวจนเกินไป ในเวลากลางคืนอีกด้วย เช่นการซื้อบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านอาจจะรู้สึกอุ่นใจกว่าการสร้างบ้านเดียวที่แต่ละหลังตั้งอยู่ห่างกันเยอะๆเป็นต้น และอย่าคาดหวังกับโครงการต่างๆที่ยังไม่รู้ว่าจะเกิดเมื่อไหร่หรือเกิดจริงๆหรือเปล่าก็ไม่รู้เช่น บริเวณนั้นจะมีรถไฟฟ้าสายใหม่ๆผ่าน ทางด่วน หรือ ถนนหนทางผ่าน เพราะเราไม่อาจรับรองได้ว่ามันจะเกิดเมื่อไหร่(นอกจากการซื้อเพื่อเก็งกำไร) ควรเลือกจากสภาพปัจจุบันที่เหมาะสมที่สุด จะดีกว่าครับ
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่1
ตัวอย่าง สภาพแวดล้อมที่ดีเหมาะสมกับการสร้างบ้าน
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่1
ตัวอย่าง สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี
2. จะถมดินสูงแค่ไหนดีนะ อันนี้เป็นคำถามยอดฮิตก่อนการสร้างบ้านเลยทีเดียว บางคนบอก 50 ซม บ้างก็ว่า 30 ซม ก็พอแล้วบางคนบอก 1 เมตรไปเลย แล้วจริงๆมันควรถมเท่าไหร่หละ คำตอบของเรื่องนี้คือ แล้วแต่ความชอบครับไม่มีการกำหนดที่แน่นอนเพียงแต่มันจะต้องสูงกว่าระดับถนนคอนกรีตหรือถนนลาดยางหน้าบ้านเรา ประมาณ 50 ซม ก็เพียงพอ แต่ถ้าถนนหน้าบ้านเป็นถนนดินแดงก็ให้เพิ่มความสูงของระดับดินถมเป็น 1 ม.เพื่อเป็นการรองรับความสูงของถนนที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากการลาดยางหรือทำถนนคอนกรีตในอนาคตนั้นเอง  อีกปัจจัยนึงคือระดับน้ำท่วมสูงสุดในบริเวณนั้น ถ้าสามารถหาข้อมูลได้เราก็ควรถมที่ดินให้สูงกว่าระดับดังกล่าวประมาณ 50 ซม.ขึ้นไป
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่1
การถมดินเพื่อสร้างบ้านเจ้าของบ้านจำเป็นต้องเผื่อการยุบตัวของดินด้วยนะครับ คือเพื่มปริมาณดินถมสูงขึ้นไปอีก 30 % เพื่อเผื่อให้ดินได้เซ็ตตัวหรือยุบตัว นั้นเอง เช่น จะถมดินสูง 50 ซม แต่ให้ถมดินไว้ที่ระดับ65 ซมนั้นเอง และควรถมดินไว้ก่อนการสร้างบ้านอย่างน้อย 4-6 เดือนยิ่งทิ้งไว้ผ่านหน้าฝนซักครั้งจะยิ่งทำให้ดินแน่นมากขึ้นทำให้ลดปัญหาดินทรุดหลังสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี 
3. ทิศทางแดดลม กับ การวางตำแหน่งบ้าน หลายๆ คนอาจจะคิดว่าไอ้เรื่องพวกนี้ มันจะสำคัญอะไรมากมายนักจะปลูกบ้านตรงไหนมันก็มีลมทั้งนั้นแหละ และที่สำคัญเราก็เปิดแอร์ทั้งวันอยู่แล้วไม่เห็นมีอะไรน่ากังวล ใครกำลังมีความคิดแบบนี้มั้งครับ ถ้ามีแนะนำว่าให้อ่านหัวข้อนี้ก่อนแล้วค่อยมาคิดอีกทีนะครับ
ทำไมต้องดูทิศทางแดด-ลม ก่อนการวางตำแหน่งบ้าน ก็เพราะว่าเราคงไม่อยากนอนในห้องนอนที่แสนจะร้อนในตอนกลางคืนหรือต้องอุดอู้อึดอัดอยู่ในบ้านที่ไม่มีลมระบายเลย เรื่องพวกนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อน มีข้อสังเกตุหลายอย่างในการวางตำแหน่งบ้านเพื่อให้บ้านทั้งหลังเป็นบ้านที่อยู่อย่างสบาย มีความสุข และประหยัดพลังงาน
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่1
ปกติแสงแดดของบ้านเราจะวิ่งเป็นแนวตะวันออกแล้วอ้อมโค้งไปทางใต้ก่อนจะตกในทิศตะวันตก จะทำให้ทิศใต้ไปจนถึงทิศตะวันตกได้รับแสงมากที่สุดของวันคือตั้งแต่หลังเที่ยงไปจนถึงห้าโมงเย็น ด้านนี้จึงควรเป็นส่วนหลังบ้านและส่วนซักล้างหรือกิจกรรมอื่นที่ต้องการแสงจำนวนมากๆ ส่วนทางทิศตะวันออกจะได้รับแสงอ่อนๆในตอนเช้าและแสงจะแรงมากเพียงแค่ช่วง 10 โมงเช้าจนถึงเที่ยงซึ่งก็เพียงแค่ 3 ชม ยิ่งทิศเหนือแล้วยิ่งได้รับแดดน้อยที่สุด 2 ด้านนี้จึงเหมาจะวางตำแหน่งของห้องพักผ่อนที่ต้องการแสงรบกวนน้อย เช่น ห้องนอนและห้องนั่งเล่น 
เรานิยมวางแนวด้านแคบของตัวบ้านหันไปทางทิศทางรับแดด เพื่อให้ผนังที่รับแดดมีน้อยที่สุด ทำให้ผนังสามาถดูดกลืนความร้อนในปริมาณน้อยและทำให้ภายในบ้านไม่ร้อนจนเกินไปในเวลากลางคืน เพราะธรรมชาติของผนังปูนนั้นจะดูดความร้อนเมื่อแดดส่องและจะถ่ายเทความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ฉะนั้นถ้าผนังบ้านถูกแดดตะวันตกน้อยก็จะทำให้ความร้อนที่จะถ่ายออกมาเวลากลางคืนมีน้อยเช่นกัน
ส่วนลมนั้นลมประจำฤดูของบ้านเราจะพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งจะพัดพาลมหนาวจากจีนมาในช่วงหน้าหนาว และ จากทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่จะพัดพาความชุ่มชื้นจากทะเลมาในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน บ้านที่ดีด้านยาวของบ้านจึงควรหันเข้าหาทิศทางลมเพื่อให้ลมธรรมชาติพัดเข้าตัวบ้านเพื่อระบายความร้อนออกไปให้ได้มากที่สุดและส่งผลให้ประหยัดค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเป็นต้น 
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่1
หากเราไม่สามารถกำหนดทิศทางการตั้งตัวบ้านได้อย่างเหมาะสมก็สามารถแก้ได้โดยการปรับสภาพแวดล้อมให้ สภาพแวดล้อมช่วยลดความร้อนของบ้านแทนเช่นการปลูกต้นไม้เพื่อบังทิศทางแดดเป็นต้น 
4. รูปแบบและราคาประเมินการก่อสร้างบ้าน รูปแบบบ้านมีหลากหลายแบบให้เลือกตามรสนิยมและความชอบส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย ตั้งแต่รูปแบบที่มีความซับซ้อนมากอย่างแบบ บ้านเรือนไทยของเราเองที่มีความซับซ้อนทั้งรูปแบบและขั้นตอนในการก่อสร้างที่ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูงมาก หรือแบบเรียบง่ายสมัยใหม่แบบ Modern Style ที่ไม่ได้มีความซับซ้อนมากนักแต่เน้นความเนียบเป็นหลัก เรื่องกระบวนการก่อสร้างนี้แหละที่ทำให้บ้านแต่ละรูปแบบบ้านราคาค่าตัวที่แตกต่างกันออกไป
แบบบ้านเรือนไทย มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนต้องการงบประมาณในการก่อสร้างและช่างฝีมือที่มีความชำนาญสูง แต่ถ้าไม่อยากยุ่งยากเดี๋ยวนี้ก็มีเรือนไทยสำเร็จรูปขาย
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่1
แบบบ้าน Modern เป็นแบบที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมในปัจจุบัน หาช่างทำง่ายและควบคุมงบประมาณได้จากการเลือกใช้วัสดุและความซับซ้อนของอาคาร 
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่1
แบบบ้าน Resort อันนี้ก็กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นรูปแบบที่ค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะกว่าแบบ Modern style แต่ก็ไม่ยุ่งยากถึงขนาด เรือนไทย บ้านแนวนี้มักจะสร้างเป็นบ้านพักตากอากาศตามสถานที่ท่องเที่ยวหรือนอกเมืองเป็นส่วนใหญ่ 
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่1
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่าง ยังมีรูปแบบบ้านอีกหลากหลายให้ได้เลือกเพื่อให้ออกมาตรงความต้องการของเรามากที่สุด
เพราะฉะนั้นการที่เจ้าของคิดจะสร้างบ้านในฝันซักหลังนั้น จะเลือกเพียงรูปแบบที่ชอบอย่างเดียวไม่ได้นะครับ แต่ต้องคำนึงถึงราคาของการสร้างบ้านแต่ละรูปแบบด้วย เพราะยิ่งบ้านมีรูปแบบที่ซับซ้อนก็จะยิ่งมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นเป็นเงาตามตัวทั้งค่าของและค่าแรง(ที่มักแพงกว่าราคาค่าแรงขั้นต่ำในกรณีที่เป็นช่างฝีมือ)  เพราะฉนั้นในขั้นตอนการออกแบบควรกำหนดงบประมาณเคร่าๆให้สถาปนิกทราบเพื่อจะได้ให้คำปรึกษาที่เหมาะสมกับความต้องการของเจ้าของได้โดยง่าย และไม่ปวดใจในภายหลังเพราะงบที่บานปลาย เพราะเค้าเหล่านั้นสามารถผสมผสานรูปแบบที่เจ้าของบ้านต้องการให้เหมาะสมกับงบประมาณก่อสร้างได้
ตัวอย่างราคาประเมินค่าก่อสร้างปี 2557 จาก มูลนิธิประเมินค่าก่อสร้างแห่งประเทศไทย http://www.thaiappraisal.org
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่1
5. ความต้องการพื้นฐานของเจ้าของบ้าน การที่เราจะสร้างบ้านซักหลังนั้น เราจำเป็นต้องรู้ซะก่อนว่าเราต้องการอะไร?? บ้านหลังใหญ่แค่ไหน อยู่กันกี่คน มีผู้สูงอายุไหม ต้องการรูปแบบบ้านแบบไหน มีรถยนต์กี่คัน ต้องการห้องนั้งเล่นใหญ่ๆ หรือ ต้องการห้องน้ำแบบใหญ่โตโอลาน หรือไม่ ....บลาๆๆๆๆ ทั้งหมดนั้นเราเรียกว่าความต้องการพื้นฐานในการออกแบบบ้านครับ เราต้องตอบตัวเองกับเรื่องเหล่านี้ให้ได้ก่อนจึงจะสามารถให้ผู้ออกแบบสร้างบ้านในฝันออกมาตามความต้องการเราได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง อาจทำเป็นเช็คลิสต์ ง่ายๆ ไปเดินดูบ้านตัวอย่างตามโครงการก็ได้ ชอบอะไรก็จดไว้ ไม่ต้องรีบเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆแล้วค่อยๆสรุปออกมาเป็นข้อๆให้ผู้ออกแบบ ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น
ตัวอย่างการทำ เช็คลิสต์ ความต้องการพื้นฐาน
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอ
เมื่อได้ตารางแบบข้างบนมาแล้วก็ลองเอาไปให้สมาชิกในบ้านของเราลองทำ เราก็จะได้ตัวอย่างความต้องการของทุกๆคนมาเป็นแนวทางในการกำหนดจำนวนห้องและขนาดบ้านแล้วครับ 
6. การวางตำแหน่งห้องต่างๆ เคยสงสัยกันไหมครับ ว่าทำไมเข้าบ้านต้องเจอห้องรับแขกก่อนทำไมไม่เข้ามาแล้วเจอห้องนอนเลยนะมันคงดีเนอะ แต่ถ้าขืนทำแบบนั้นจริงๆ ก็คงจะโดนใครต่อใครประณามได้อย่างไม่ยากเย็น แต่ถ้าเราทำแบบนั้นกับคอนโดกลับมองว่ามันก็ปกติก็ห้องมันมีพื้นที่จำกัดนี้ครับ สำหรับบ้านแล้วเราควรเข้าบ้านมาเจอห้องโถงหรือห้องรับแขกก่อนแล้วจึงแยกออกไปเป็นห้องนอนห้องอาหาร และ ครัว รวมถึงห้องน้ำที่ต้องเข้าถึงง่ายแต่มิดชิด 
การวางผังบ้านแบบนี้เราจะเรียกว่าการจัดโซนนิ่งบ้าน โดยเราจะแบ่งเป็น
- ส่วนสาธารณะ เช่น โถงทางเข้า ห้องรับแขก ห้องทานอาหาร เป็นต้น ห้องเหล่านี้ทุกคนในบ้านรวมทั้งแขกที่มาบ้านจะสามารถเข้าถึงได้เหมือนๆกัน
- ส่วนกึ่งสาธารณะ เช่น ห้องคาราโอเกะ ห้องนั้งเล่น ห้องพระ เป็นต้น ห้องเหล่านี้ทุกคนในบ้านเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงได้ 
- ส่วนที่เป็นส่วนตัว เช่น ห้องนอน ห้องทำงาน เป็นต้น ห้องเหล่านี้มีเพียงเจ้าของห้องและสมาชิคบางคนเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงได้เพราะมีความเป็นส่วนตัวสูง
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่1
ดังนั้นการวางผังห้องต่างๆเราควรวาง ห้องในส่วนสาธารณะไว้ด้านหน้าก่อนเสมอ และจึงแยกออกไปเป็น ส่วนกึ่งสาธารณะ และ ส่วนตัว ต่อไปเพื่อให้การใช้สอยในบ้านเป็นสัดส่วนและดูแลด้านความปลอดภัยได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
7. ทิศทางการวางบันได ถ้ามองเรื่องนี้ในแง่ของฮวงจุ้ย เค้าก็จะบอกว่าอย่าหันบันไดบ้านไปทางทิศตะวันตกเพราะเป็นทิศที่เกียวกับคนตายและสิ่งอัปมงคลทั้งหลายทั้งปวงใครขืนหันบันไดไปทางนี้เอาว่าไม่ซวยอย่างไดก็อย่างนึงว่างั้น แต่ถ้าว่ากันตามหลักการออกแบบแล้วก็ไม่แนะนำให้หันบันไดไปทางทิศตะวันตกเช่นกันเนื่องจากทิศตะวันตกเป็นทิศที่มีแสงบ่ายค่อนข้างแรงอาจทำให้การใช้งานบันไดที่มีแสงบ่ายส่องตาอาจทำให้เจ้าของบ้านแสบตาจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้นั้นเอง แต่ถ้าจำเป็นต้องวางก็ไม่ควรให้ผนังด้านที่บันไดมุ่งไปหานั้นมีแสงส่องผ่านมาได้ โดยอาจเปลี่ยนเป็นการนำแสงธรรมชาติลงมาจากด้านบนเพดานแทนก็ได้
 
20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่1
แสงเข้าทำให้รบกวนการใช้งาน                                                                                       แสงช่วยเสริมให้บริเวณบันไดสว่างขึ้น
8. ความสูงลูกตั้ง ลูกนอน และ จำนวนขั้นบันได เรื่องของความสูงของลูกตั้งลูกนอนบันไดนั้นมีข้อกำหนดอยู่แล้วในกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ผู้ออกแบบทุกท่านทราบเป็นอย่างดี คือลูกตั้งไม่ควรสูงเกิน 20 ซม และกว้างไม่น้อยกว่า 22 ซม.ตัวเลขดังกล่าวใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั้วไป ซึงเป็นความสูงและความกว้างที่ผ่านการศึกษามาแล้วว่าเหมาะสมที่สุด ส่วนจำนวนขั้นบันไดนั้นไม่ได้มีกฏหมายกำหนดไว้ แต่ตามความเชื่อของคนไทยคือบันไดต้องจบที่เลข คี่ เนื่องจาก เลขคี่เป็นเลขของคนเป็น ส่วนเลขคู่นั้นถือว่าเป็นเลขของคนตายนั้นเอง แต่ในความเป็นจริงควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่งมากกว่า 
9. จะเผื่อความสูงฝ้าเพดานไว้เท่าไหร่ดี โดยปกติความสูงฝ้าโดยทั้งไป(วัดจากระดับพื้นถึงท้องฝ้า)ควรจะสูงไม่น้อยกว่า 2.40 ม.ซึ่งเป็นความสูงที่กำลังสบายไม่อึดอัดหรือรู้สึกโดนกด และประหยัดด้วย เอะ!ยังไง.....มันประหยัดยังไงกัน คำตอบก็คือปัจจุบันวัสดุกรุผนังส่วนใหญ่จะทำออกมาที่ตัวเลขรวมได้ 2.40 พอดีเช่น กระเบื้องขนาด 30ซม x 30ซม หากปู 8 แถวก็จะได้ความสูง 2.40 พอดี เพราะถ้าเราปูแค่ 7 แถวก็จะได้ความสูงฝ้าแค่ 2.10 ม.ซึ่งเป็นระดับฝ้าที่เตี้ยเกินไปนั้นเอง และยังทำให้กระเบื้องไม่เหลือเศษทิ้งให้เสียของ หากต้องกรุในปริมาณมากๆก็ช่วยลดงบในการซื้อวัสดุกรุผนังลงได้อีกเยอะเป็นต้น
10. ทิศทางการเปิดประตูภายในบ้าน อะไรนะเรื่องแบบนี้ก็ต้องมีหลักการด้วยเหรอมันจะเวอร์ไปไหม  ตอบได้ครับว่ามันสำคัณมาก เพราะถ้าเราติดตั้งประตูผิดทางอาจทำให้น้ำท่วมบ้านกันได้เลยทีเดียวนะครับ จะหาว่าไม่เตือน
เริ่มกันจากประตูหน้าบ้าน ประตูหน้าบ้านด้านที่จะต้องโดนแดดโดนฝนหรือฝนสาด จะต้องเปิดออกนอกบ้านเท่านั้น เพราะการเปิดออกจะบังคับให้บังใบของวงกบประตูเป็นตัวกันน้ำที่จะเข้าบ้านไปโดยปริยายและควรลดระดับพื้นที่ขอบล่างของประตู

 20 ข้อควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน ตอนที่ 2 http://www.link.co.th/Weblink/welcome/article_read/861